Pro & Constitution: สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบรัฐธรรมนูญของไทย

featuring top stories

เป็น Pro & Constitution ตอนแรกที่มีแขกรับเชิญ

เหตุผลที่ ผม และ อาจารย์ Piyabutr Saengkanokkul – ปิยบุตร แสงกนกกุล
ต้องคุยกันเรื่องนี้ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ถือเป็นสถาบันหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ ยิ่งในปัจจุบัน “การปฏิรูปสถาบัน” กลายเป็นข้อเรียกร้องหลักข้อหนึ่งของผู้ชุมนุม ซึ่งไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือเห็นต่าง แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่านี่คือประเด็นที่ถูกพูดถึงและมีการถกเถียงอย่างกว้างขวางมากที่สุด

เนื้อหาของ podcast ตอนนี้ ไล่เรียงตั้งแต่นิยาม ความเป็นมาของระบอบ Constitutional Monarchy ทั้งบริบทในต่างประเทศและบริบทในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ฟังเห็นว่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงวันนี้ Constitutional Monarchy ในฐานะระบอบการปกครอง ไม่ใช่อะไรที่คงที่ แต่มีการปรับตัวตลอดมา บ้างปรับในรัฐธรรมนูญ บ้างปรับในวัฒนธรรม

และการปรับตัวหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ ก็ตาม เริ่มต้นจากการสื่อสารด้วยเหตุผล

ในประเทศไทยที่มีประชากรเกือบ 70 ล้านคน ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ทุกคนคิดเหมือนกัน แต่สิ่งที่ทำให้เราอยู่ร่วมกันได้ คือการนำข้อถกเถียงหรือความคิดที่แตกต่างมาคุยกันใน “พื้นที่ปลอดภัย” ซึ่งน่าเสียดายว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจากภาคประชาชนที่เสนอว่า สสร.ควรได้ทำหน้าที่นี้ ถูกตีตกโดยรัฐสภาไปแล้ว

ความหวังตอนนี้จึงอยู่ที่กรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 45 คน ว่าท้ายสุดจะพิจารณาแปรญัตติในวาระที่ 2 ให้ สสร.มีอำนาจพิจารณาแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยขึ้นมา

แม้เป็นหวังที่ยากจะเป็นจริง แต่หากเรามุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนสังคมไปข้างหน้า การรักษาความหวังก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น

ผมหวังว่ารายการนี้จะพอช่วยรักษาความหวังและเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ทุกคนได้บ้างนะครับ

Pawat Keepanich
ตลกดี…ทีบอกว่าจะปฏิรูปสถาบัน และเป็นข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม ..กี่คนหล่ะ ถึง 0.01 % ของประชากรในประเทศ หรือเปล่า ทีเรียกร้อง อย่าคิดว่าแค่ม็อบหยิบมือเดียวออกมาป่วนบ้านเมือง แล้วคนทั้งประเทศจะรู้เห็นเป็นใจให้ ทำตามที สส.กาฝากแผ่นดิน ยื่นให้รัฐสภา ทำตาม ยังมีอีกหลายชีวิตทีเขายอมสละเพื่อชาติได้..ไม่ขลาดกลัวแอบอยู่หลังเด็กทีเป็นหุ่นเชิด…ถ้ายังคิดว่าแผ่นดินนี้มีคุณแก่ตน ก็ให้สำนึกถึงบรรพบุรุษทีเขาเอาเลือดเนื้อแลกมา และผู้นำคือพระมหากษัตริย์ ทีกอบกู้จนไทยเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร จะทำอะไรก็ให้นึกถึงกรรมไว้บาง คุณจะนับถึอพุทธหรือไม่ ก็เรื่องของคุณ แต่คนพุทธเขาไม่ลืมบุญคุณ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และบรรพบุรุษ ทีสร้างชาตินี้มา ให้เราอยู่อย่างเป็นไท มาจนถึงทุกวันนี้

Nantapat Ngamplung
แค่ยกประเด็นขึ้นมาปุ้ป จะกลายเป็นล้มเจ้าไม่จงรักภักดีขึ้นมาทันที แต่ทำดีแล้วครับ การพูดถึงสถาบันควรเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถพูดถึงได้ แต่ไม่ใช่การสักแต่ด่าโดยไม่มีข้อเท็จจริง เพราะประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

Chaveevan Somboonsiri
อย่าเอาแต่พูดทฤิษฎีที่สวยหรู ปฎิบัติทั้งกายกรรม วจีกรรม ให้งดงาม ตามความเป็นไทย ให้ได้จะ ดีกว่าคะ ใช่ว่าพอเป็น ดร. ถือว่าเรียนมาสูง แต่ไร้จิตสำนึกดี ความรู้สูงก็เอาตัวไม่รอด พาชาติล้มจม

Pek Ppek
ประเด็นสถาบัน ไม่ใช่ประเด็นที่จำเป็นหรือเกี่ยวข้องกับการบริหารประเทศเลย ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไข แต่ที่ถูกนำมาพูดถึงในกลุ่มเล็กๆของพวกคุณ เพราะมีคนใส่ข้อมูลเท็จให้คนกลุ่มเล็กๆของพวกคุณ คนอย่างบูด เจียม ทะนาทาน ไม่น่าเชื่อว่าคนที่ดูจะมีสมองแยกแยะและมองเห็นภาพจริงเท็จอย่างคุณจะงมงายไปด้วย

Thitiphat Chanpen
ก่อน 2475 เป็นของใคร หลัง 2475 ใครเอามา มีสิทธิ์อะไร แล้วตอนนี้จะกลับไปสู่เจ้าของเดิม ผิดตรงไหน
นักการเมืองไม่มีสิทธิ์แต่ไหนแต่ไรอยู่แล้ว
ประเทศไม่ได้เริ่ม 2475 แต่เริ่มล่าสุดคือ 2325 อย่ามามั่ว

Keaty K. Zezanine
โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว!..เคยดูแฮรี่พ็อตเตอร์แล้วรู้สึกบ้างมั้ยว่าทำไมใครๆต่างก็ไม่อยากพูดถึงลอร์ดวอเดอะมอ..เออแล้วทำไมจะพูดถึงวิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้หล่ะ! ก็ลอร์ดวอเดอะมอทำไม่ดีหนิ!

FB พริษฐ์ วัชรสินธุ – ไอติม – Parit Wacharasindhu